Header Image
ข้อมูลทั่วไปจังหวัด
watermark

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดอุตรดิตถ์
 1. ตราประจำจังหวัด
          ในสมัย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อราว พ.ศ. 2583 ดำริให้มีการออกแบบทำตราประจำจังหวัดต่างๆ ขึ้น เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ และนำเสนอปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุที่สำคัญๆ ของแต่ละจังหวัดให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น ดังนั้น จังหวัดอุตรดิตถ์ จึงได้นำรูปพระแท่นศิลาอาสน์ซึ่งเป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองและเป็นหลักเมืองของอุตรดิตถ์มาแต่โบราณ โดยมาผูกติดลวดลายเป็นตราประจำจังหวัด ตราประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ออกแบบครั้งแรก โดยพระพรหมพิจิตร เขียนลายเส้นโดยนายอุณห์ เศวตมาลย์ โดยทำเป็นรูปมณฑป ประดิษฐานพระแท่นศิลาอาสน์ ต่อมาทางราชการให้เพิ่มเติมรายละเอียดโดยทำรูปครุฑ ซึ่งเป็นตราแผ่นดินและลวดลายกนกมาประกอบไว้ พร้อมทั้งเพิ่มตัวอักษรจังหวัดอุตรดิตถ์ เข้าไว้ในตราด้วย
2. คำขวัญประจำจังหวัด
    “เหล็กน้ำพี้ลือเลื่อง เมืองลางสาดหวาน บ้านพระยาพิชัยดาบหัก ถิ่นสักใหญ่ของโลก”
3. ประวัติความเป็นมาจังหวัดอุตรดิตถ์
          อุตรดิตถ์มีความหมายว่า เมืองท่าแห่งทิศเหนือ และก่อนจะมาเป็นเมืองท่าสำคัญ แต่เดิมอุตรดิตถ์เคยเป็นเมืองในปกครองของเมืองพิชัย อันเป็นเมืองเก่าแก่ ปรากฏชุมชนอาศัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
4. สภาพทั่วไปของจังหวัดอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน
          ที่ตั้งอาณาเขต
          อุตรดิตถ์เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนล่างในแดนล้านนาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ 491 กิโลเมตร และโดยทางรถไฟ 485 กิโลเมตร มีเนื้อที่กว้างประมาณ 7,838.592 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 4,899,120 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือติดกับจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน
          ทิศใต้             ติดกับจังหวัดพิษณุโลก
          ทิศตะวันออก     ติดกับจังหวัดพิษณุโลก,จังหวัดเลยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                             โดยชายแดนยาว ประมาณ 135 กิโลเมตร
          ทิศตะวันตก      ติดกับสุโขทัย
5. การปกครอง
          จังหวัดอุตรดิตถ์ แบ่งพื้นที่เพื่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็น 9 อำเภอ 67 ตำบล 613 หมู่บ้าน โดยมี อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ อำเภอตรอน อำเภอทองแสนขัน อำเภอท่าปลา อำเภอน้ำปาด อำเภอบ้านโคก อำเภอพิชัย อำเภอฟากท่าและอำเภอลับแล
มีการบริหารราชการ 3 ระดับ คือ
          1. การบริหารราชการส่วนกลางที่มีสำนักงานตั้งในส่วนภูมิภาค จำนวน 60 หน่วยงาน
          2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค จำนวน 32 หน่วยงาน
          3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จำนวน 80 แห่ง ประกอบด้วย
                   3.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด              จำนวน 1 แห่ง
                   3.2 เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์          จำนวน 1 แห่ง
                   3.3 เทศบาลตำบล                            จำนวน 25 แห่ง
                   3.4 องค์การบริหารส่วนตำบล               จำนวน 53 แห่ง
ประชากร
          ในปี พ.ศ. 2558 จังหวัดอุตรดิตถ์ มีประชากรทั้งสิ้น 459,768 คน ชาย 225,805 คน หญิง 233,963 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 59 คน: 1 ตารางกิโลเมตร อำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุด คือ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ โดยมีความหนาแน่น 196 คน : ตารางกิโลเมตร และอำเภอที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุด คือ อำเภอบ้านโคก หนาแน่น 14 คน : ตารางกิโลเมตร
ลักษณะทางสังคม
          สภาพพื้นที่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตรอยต่อแห่งวัฒนธรรมล้านนา ล้านช้างและภาคกลาง เป็นผลให้ลักษณะวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษาถิ่น และงานประเพณีพื้นบ้านต่างๆ มีลักษณะผสมผสานประชากรบางส่วน       พูดภาษาไทยภาคกลาง บางส่วนพูดภาษาไทยเหนือและบางส่วนพูดภาษาลาว เป็นต้น
6. วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์
          ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์
          จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ราบลุ่มประมาณ 50% ของพื้นที่ทั้งหมด มีเขื่อนสิริกิติ์และแม่น้ำน่าน เป็นแหล่งน้ำสำคัญเหมาะสมแก่การเพาะปลูก ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นแหล่งผลิตข้าว ข้าวโพด ทุเรียน ลางสาด และลองกอง ที่สำคัญของประเทศ มีศักยภาพสูงในการพัฒนา  ด้านเกษตรกรรมมีชายแดนติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และทางธรรมชาติ เป็นจำนวนมาก  มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ได้แก่ ไทยล้านนา ไทยล้านช้าง ไทยภาคกลาง และยังมีเส้นทางการคมนาคมที่เชื่อมโยงกับแหล่งมรดกโลก ได้แก่ สุโขทัย กำแพงเพชร และหลวงพระบาง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งใน                                และระหว่างประเทศ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในจังหวัด จึงได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนา จังหวัดให้สอดคล้องกับศักยภาพของจังหวัดพร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมของจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
7. วิสัยทัศน์
          “เมืองแห่งคุณภาพชีวิต ผลผลิตปลอดภัย สืบสานวัฒนธรรมไทย ก้าวไกลสัมพันธ์เพื่อนบ้านยั่งยืน”
8.เป้าประสงค์
          1. ประชาชนและชุมชนมีความเข้าแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การปกครองอย่างมีคุณภาพ
          2. ผลผลิตด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้า ผลิตภัณฑ์ OTOP มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีระบบการตลาดที่ดี
          3. เป็นดินแดนแห่งความสงบสุข มีศิลปวัฒนธรรมและประเพณี มีจริยธรรม และเป็นเมืองที่น่าอยู่
          4. มีการพัฒนาที่ยั่งยืน อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์และพลังงานที่เพียงพอ
          5. จุดผ่านแดนถาวรภูดู่ มีศักยภาพทางการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความสัมพันธ์อันดีทั้งภายในและระหว่างประเทศสูงขึ้น
8. พันธกิจ
          1. พัฒนาให้เป็นเมืองน่าอยู่ เด็กมีความรู้คู่คุณธรรม มีวินัย มีศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม และมีการสืบสานต่อไป มีความมั่นคงและยั่งยืนในการดำรงชีวิต
          2. ส่งเสริม พัฒนาผลผลิตด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้า OTOP ให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ปลอดภัย และมีระบบการตลาดที่ดี
          3. ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจการเมืองการปกครองและความสมัครสมานสามัคคีของประชาชน
          4. พัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ และพลังงาน
          5. ส่งเสริมพัฒนาจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ และการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความสัมพันธ์ที่ดีทั้งภายในและระหว่างประเทศ
9. สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
          9.1 อำเภอเมืองอุตรดิตถ์
          อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก
          ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างเกียรติประวัติไว้ เมื่อครั้งรบกับพม่า จนดาบคู่มือหักไปเล่มหนึ่ง แต่ก็ยังรบจนได้รับชัยชนะ ด้วยวีรกรรมดังกล่าวจึงได้สมญานามว่า “พระยาพิชัยดาบหัก”
          9.2 อำเภอลับแล
          วัดพระแท่นศิลาอาสน์
          องค์พระแท่นเป็นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประดับลายกลีบบัวที่ฐานพุทธบัลลังก์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงสุโขทัยประดิษฐานอยู่ในวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ตำบลทุ่งยั้ง
          9.3 อำเภอพิชัย
           บ้านเกิดพระยาพิชัยดาบหัก
          อยู่ที่บ้านห้วยคา ตำบลในเมือง ปัจจุบันได้พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
          9.4 อำเภอน้ำปาด
              อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่
               อยู่ที่ตำบลน้ำไคร้ ประกอบด้วยไม้เบญจพรรณ และที่สำคัญอุทยานแห่งนี้มีต้นสักที่ใหญ่ที่สุดในโลก อายุราว 1,500 ปี นอกจากนั้นยังมีธรรมชาติที่โดดเด่น และสวยงาม
          9.5 อำเภอตรอน
               บึงทับกระดาน
               เป็นบึงน้ำขนาดกลางที่เป็นแห่งอาหารของนก และยังได้รับการปรับภูมิทัศน์บึงแห่งนี้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และมีร้านอาหารบริการรอบบึง
          9.6 อำเภอฟากท่า
                รอยพระบาท
                เป็นรอยจารึกของคณะเจ้านายสมัยก่อน ประมาณหลายร้อยปีแล้ว ซึ่งมาตามหาช้างและหยุดพัก  บนลานหินใหญ่ จึงได้จารึกรอยดังกล่าวไว้มีลักษณะเหมือนรอยเท้าของมนุษย์ ขนาดประมาณ 1 ฟุต
          9.7 อำเภอทองแสนขัน
               บ่อเหล็กน้ำพี้
                อยู่ที่ตำบลน้ำพี้ เป็นบ่อเหล็กกล้าที่ปรากฏให้เห็นชัดเจน มี 2 บ่อ คือ บ่อพระแสง และบ่อพระขรรค์ โดยบ่อพระแสงจะเป็นบ่อที่เนื้อเหล็กดีกว่าบ่ออื่น ซึ่งจะสงวนไว้สำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น ในบริเวณพื้นที่มี       ศาลเจ้าพ่อเหล็กน้ำพี้ และอาคารพิพิธภัณฑ์ โดยจำลองการนำเหล็กน้ำพี้มาทำเป็นศาสตราวุธในแต่ละขั้นตอน
          9.8 อำเภอท่าปลา
               เขื่อนสิริกิติ์
               มีทิวทัศน์ที่สวยงามเพราะในฤดูหนาว ความเงียบสงบของบรรยากาศประกอบกับพืชพันธุ์ไม้ที่งามสะพรั่งเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้ไปเยือนไม่ขาดสาย
          9.9 อำเภอบ้านโคก
              จุดผ่านแดนถาวรภูดู่
              การเปิดจุดผ่านแดนถาวรภูดู่ เพื่อขยายศักยภาพทางการค้า และการท่องเที่ยวระหว่างไทย-ลาวสามารถเดินทางไปยังแขวงไชยบุรี หลวงพระบาง และนครหลวงเวียงจันทร์ รองรับการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนโดยเป็นเส้นทางการค้าการลงทุนการท่องเที่ยว และการขนส่ง ระหว่างพม่า-ไทย-ลาว ได้สะดวกขึ้นอีกเส้นทางหนึ่ง
สินค้า GI และ OTOP ของจังหวัดอุตรดิตถ์
          สินค้า GI (Geographical Indications) คือ สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่สามารถบ่งบอกว่า สินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีชื่อเสียง มีคุณภาพและลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว
จังหวัดอุตรดิตถ์มีสินค้า GI อยู่ 3 ชนิด ได้แก่
          1. สับปะรดห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด เป็นสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ลักษณะโดดเด่น คือ ผิวบางตาตื้น เนื้อหนานิ่ม เนื้อในสีเหลืองเหมือนน้ำผึ้ง รสชาติหวานหอม ฉ่ำน้ำ ไม่ระคายลิ้นเวลารับประทาน เพราะมีสภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย สามารถระบายน้ำได้ดี เหมาะกับการปลูกสับปะรดเป็นอย่างมาก
          2. ทุเรียนหลงลับแล เป็นทุเรียนพันธุ์หลงลับแล มีลักษณะผลเป็นทรงกลม หรือทรงรีเปลือกบาง เนื้อมาก สีเหลืองเข้ม เนื้อแห้งละเอียดเหนียว มีกลิ่นอ่อน รสชาติหวานมัน เมล็ดลีบเล็ก ปลูกอยู่ในเขตอำเภอลับแล           อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอำเภอท่าปลา
          3. ทุเรียนหลินลับแล เป็นทุเรียนพันธุ์หลินลับแล มีลักษณะผลเป็นทรงกระบอก เปลือกบางเนื้อสีเหลืองเข้ม   เนื้อแห้งละเอียดเหนียว มีกลิ่นอ่อน เนื้อมากเส้นใยน้อย เก็บไว้ได้นานโดยไม่แฉะ มีเมล็ดลีบเล็ก ปลูกอยู่ในเขตอำเภอลับแล อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และอำเภอท่าปลา
สินค้า OTOP แต่ละอำเภอ
อำเภอเมืองอุตรดิตถ์
          1. กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองน้ำริด 217 หมู่ 1 ตำบลน้ำริด โทรศัพท์ 0 5544 7158
          2. กลุ่มจักสานผักตบชวา กลุ่มอาชีพสตรีผักตบชวา บ้านท่า หมู่ 5 ตำบลหาดกรวด โทรศัพท์ 0 5544 5372
          3. ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหาร (น้ำพริกต่างๆ ปลาร้าก้อน) เลขที่ 10 หมู่ 6 ตำบลผาจุก
          4. ผลิตภัณฑ์ไวน์จากผลไม้ 86 หมู่ 8 ตำบลแสนตอ โทรศัพท์ 08 1280 0322
อำเภอลับแล
          1. ผ้าซิ่นตีนจกเคี๊ยะไหมย้อมสีธรรมชาติ ผลิตโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรน้ำใสใต้ ตำบลชัยจุมพล ผลิตผ้าซิ่นตีนจกด้วยฝ้าย ผลิตผ้าซิ่นตีนจกด้วยไหม ผลิตถุงย่าม สไบ ผ้านวม ที่สวยงาม ใช้วัสดุจากธรรมชาติทั้งหมด โทรศัพท์ 0 5545 0631
          2. ผลิตภัณฑ์กระดาษสา หมู่ 3 ตำบลทุ่งยั้ง
          3. ผ้าซิ่นตีนจกลายโบราณ หมู่ 4 และหมู่ 5 ตำบลชัยจุมพล
          4. ไวน์ลางสาด หมู่ 4 ตำบลนานกกก
          5. ไม้กวาดตองกง หมู่ 3 และหมู่ 4 ตำบลแม่พูล
อำเภอตรอน
          1. ผ้าสไบ ผ้าซิ่นตีนจก หมู่ที่ 7 ตำบลน้ำอ่าง โทรศัพท์ 0 5545 4116
          2. ปลาร้าผง ปลาร้าทรงเครื่อง หมู่ 5 ตำบลหาดสองแคว โทรศัพท์ 0 5540 2048
          3. ลูกอมสมุนไพร หมู่ 2 ตำบลหาดสองแคว โทรศัพท์ 0 5549 6086
          4. ขนมสาลี่มะพร้าว หมู่ 10 ตำบลบ้านแก่ง โทรศัพท์ 0 5545 1216
อำเภอท่าปลา
          1. เมล็ดมะม่วงหิมพานต์แปรรูป จุดเด่นคือ หวานมัน กรอบ สะอาด ปลอดสารพิษ ผลิตโดยกลุ่มแปรรูปเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ตำบลหาดล้า ปัจจุบันได้มีการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์หลายชนิดเช่น ตากแห้ง อบเกลือ อบเนย เคลือบโอวัลติน เคลือบกาแฟ ฯลฯ โทรศัพท์ 0 6205 2720
          2. ปลาซิวแก้ว (อบแห้ง) บ้านท่าเรือ หมู่ 9 ตำบลท่าปลา โทรศัพท์ 0 5549 9127 และ 0 5549 9348
 อำเภอฟากท่า
          1. ผ้าซิ่นตีนจกลายภูเขา ผลิตโดยกลุ่มพัฒนาสตรี อำเภอฟากท่า ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพภูมิประเทศ   ของอำเภอฟากท่าที่มีภูเขาสลับซับซ้อนมากมาย ลวดลายบนผืนผ้าซิ่นจึงงดงามประณีต คงความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม โทรศัพท์ 0 5548 9215
          2. ผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือฝ้ายและไหม (ผ้าทอจกทั้งผืน) ผลิตโดย กลุ่มทอผ้าบ้านกกต้อง ต่อมาจึงได้   มีการพัฒนามาทอเป็นจกทั้งตัว ทำให้ดูสวยงาม โดดเด่น ซึ่งเป็นผ้าที่นิยมของลูกค้า สามารถนำไปตัดเป็นเสื้อหรือ     ชุดสำเร็จรูป โทรศัพท์ 0 5548 9180
          3. กลุ่มทอผ้าบ้านนาไร่เดียว หมู่ 4 ตำบลสองห้อง โทรศัพท์ 08 7811 8552
          4. บุญเทียนรังไหมใยฝ้าย หมู่ 4 ตำบลฟากท่า โทรศัพท์ 08 1587 3143
          5. กลุ่มทอผ้ารวมใจบ้านห้วยใส หมู่ 5 ตำบลสองคอน โทรศัพท์ 0 5541 0361
          6. กลุ่มทอผ้าชุมชนเทศบาล หมู่ 9 ตำบลฟากท่า โทรศัพท์ 08 9563 0042
          7. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านเสี้ยว (มะขามจี๊ดจ๊าดอบเกลือ) หมู่ 1 ตำบลบ้านเสี้ยว โทรศัพท์ 08 1835 5249
 อำเภอบ้านโคก
          1. ผ้ามัดหมี่ตำบลนาขุม หมู่ 1 ตำบลนาขุม โทรศัพท์ 0 5541 5240
          2. กลุ่มผลิตผ้าขาวม้าตำบลบ้านโคก หมู่ 3 ตำบลบ้านโคก
-------------------------------------------

 


Line

คะแนนโหวต :
starstarstarstarstar
จำนวนการเข้าชม : 259,254